กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิชาสังคมศึกษา
สาระการเรียนรู้ที่1
เรื่องอาเซียน
พิธีลงนามในปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
ความเป็นมาของอาเซียน
อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน
“ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ
ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ
และองค์การระหว่างประเทศ
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ
และองค์การระหว่างประเทศ
ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง
ครั้งที่
|
วันที่
|
ประเทศเจ้าภาพ
|
สถานที่จัดตั้งการประชุม
|
ครั้งที่ 1
|
23-24 กุมภาพันธ์ 2519
|
ประเทศอินโดนีเซีย
|
บาหลี
|
ครั้งที่ 2
|
4-5 สิงหาคม 2520
|
ประเทศมาเลเซีย
|
กัวลาลัมเปอร์
|
ครั้งที่ 3
|
14-15 ธันวาคม 2530
|
ประเทศฟิลิปปินส์
|
มะนิลา
|
ครั้งที่ 4
|
27-29 มกราคม 2535
|
ประเทศสิงคโปร์
|
สิงคโปร์
|
ครั้งที่ 5
|
14-15 ธันวาคม 2538
|
ประเทศไทย
|
กรุงเทพมหานคร
|
ครั้งที่ 6
|
15-16 ธันวาคม 2541
|
ประเทศเวียดนาม
|
ฮานอย
|
ครั้งที่ 7
|
5-6 พฤศจิกายน 2544
|
ประเทศบูรไนดารุสซาราม
|
บันดาร์เสรีเบกาวัน
|
ครั้งที่ 8
|
4-5 พฤศจิกายน 2545
|
ประเทศกัมพูชา
|
พนมเปญ
|
ครั้งที่ 9
|
7-8 ตุลาคม 2546
|
ประเทศอินโดนีเซีย
|
บาหลี
|
ครั้งที่ 10
|
29-30 พฤศจิกายน 2547
|
ประเทศลาว
|
เวียงจันทน์
|
ครั้งที่ 11
|
12?14 ธันวาคม 2548
|
ประเทศมาเลเซีย
|
กัวลาลัมเปอร์
|
ครั้งที่ 12
|
11?14 มกราคม 25501
|
ประเทศฟิลิปปินส์
|
เซบู
|
ครั้งที่ 13
|
18?22 พฤศจิกายน 2550
|
ประเทศสิงคโปร์
|
สิงคโปร์
|
ครั้งที่ 14
|
27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
10-11 เมษายน 2552 |
ประเทศไทย
|
ชะอำ, หัวหิน
พัทยา |
ครั้งที่ 15
|
23-25 ตุลาคม 2552
|
ประเทศไทย
|
ชะอำ, หัวหิน
|
ครั้งที่
|
8-9 เมษายน 2553
|
ประเทศเวียดนาม
|
ฮานอย
|
ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย
- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
- สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย มาโดยตลอด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใดๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้นๆ ก่อน
โครงสร้างของอาเซียน
โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงาน
ตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก
สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซียโดยมีหัวหน้าสำนักงานเรียกว่า “เลขาธิการอาเซียน” ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 35 ได้แต่งตั้งนาย Ong Keng Yong” ชาวสิงคโปร์ เป็นเลขาธิการอาเซียนคนใหม่แทนนาย Rodolfo C. Severino Jr. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546) และมีรองเลขาธิการอาเซียนจำนวน 2 คน (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโดยชาว มาเลเซียและเวียดนาม)
สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และติดตามผลของการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียนให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านอาเซียนดังกล่าว
สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงาน
ตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก
สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซียโดยมีหัวหน้าสำนักงานเรียกว่า “เลขาธิการอาเซียน” ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 35 ได้แต่งตั้งนาย Ong Keng Yong” ชาวสิงคโปร์ เป็นเลขาธิการอาเซียนคนใหม่แทนนาย Rodolfo C. Severino Jr. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546) และมีรองเลขาธิการอาเซียนจำนวน 2 คน (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโดยชาว มาเลเซียและเวียดนาม)
สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และติดตามผลของการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียนให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านอาเซียนดังกล่าว
กฏบัตรอาเซียน
เป็นร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพกฎบัตรอาเซียน เป็นร่างสนธิสัญญา ที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวาง กรอบทาง กฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียน ได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่าง กฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550
10 ประเทศอาเซียน ประวัติอาเซียน10ประเทศ
แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน
โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน
1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน"เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ
2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้
3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ
4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)
เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ
6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ
7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)
เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)
8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ
9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)
เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
https://www.youtube.com/watch?v=GTYm638j7No
http://www.youtube.com/watch?v=hH-eQhEVFX4
เรี่องการแสดงความเคารพ
1. การประนมมือ |
2. การไหว้ |
3. การกราบ |
4. การคำนับ |
5. การแสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ |
6. การแสดงความเคารพโดยทั่วไป |
7. การรับความเคารพ |
http://www.youtube.com/watch?v=Id042IBrsmU
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่2
วิชา ภาษาไทย
สาระการเรียนรู้ที่1 เรื่องมาตราตัวสะกด
มาตราตัวสะกด...ภาษาไทยเบื้องต้นง่าย ๆ ที่ควรรู้
การเรียนรู้มาตราตัวสะกดต่าง ๆ จะทำให้เราสามารถเขียนและอ่านคำไทยได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ซึ่งมาตราตัวสะกดของไทย คืออะไร และต้องใช้อย่างไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ
มาตราตัวสะกด คือ กลุ่มพยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายคำหรือพยางค์ใน แม่ ก กา ทำให้เสียงของคำแตกต่างกันตามพยัญชนะที่นำมาประกอบ เช่น ตา เมื่อประสมกับ ล กลายเป็น ตาล, ชา เมื่อประสมกับ ม กลายเป็น ชาม เป็นต้น
มาตรา ก กา หรือ แม่ ก กา คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกด โดยอ่านออกเสียงเป็นสระ เช่น หู ตา ขา ลา กา ปลา เสือ โต๊ะ ตู้ ประตู ฯลฯ ทั้งนี้ แม่ ก กา เป็นหนึ่ง ในมาตราไทย แต่ไม่ถือว่าเป็นมาตราตัวสะกด เนื่องจากไม่มีพยัญชนะต่อท้าย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า มาตราตัวสะกด มี 8 มาตรา คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน
สำหรับการใช้มาตราตัวสะกด ทั้ง 8 มาตรา แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี 4 มาตรา ดังนี้
แม่กง พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ง เช่น กางเกง กระโปรง รองเท้า หนังสือ โรงเรียน ยางลบ เตียง พวงกุญแจ กล่องดินสอ ห่วงยาง ฯลฯ
แม่กม พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ม เช่น ร่ม ส้อม พัดลม กระดุม แชมพู โฟมล้างหน้า สนามกีฬา เข็มกลัด โคมไฟ ไอศกรีม ฯลฯ
แม่เกย พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ย เช่น สร้อยคอ กระเป๋าสะพาย ทางม้าลาย น้อยหน่า พลอย นักมวย รอยเท้า ไฟฉาย ถ้วยกาแฟ ป้ายจราจร
แม่เกอว พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ว เช่น คอมพิวเตอร์ แก้วน้ำ มะนาว ไข่เจียว ก๋วยเตี๋ยว ทิวทัศน์ มะพร้าว ต้นข้าว ดวงดาว บ่าวสาว นิ้ว ฯลฯ
2. มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี 4 มาตรา คือ
แม่กน พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ น ญ ณ ร ล ฬ เช่น ช้อน กรรไกร บันได ยาสีฟัน โลชั่น ฟุตบอล การบ้าน ตู้เย็น ปฏิทิน เหรียญ แจกัน
แม่กก พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ก ข ค ฆ เช่น กระจก หมวก คุกกี้ ที่พัก ก้อนเมฆ ตุ๊กตา กระติกน้ำ เนคไท สติ๊กเกอร์ จิ๊กซอว์ สุนัข
แม่กด พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น กระดาษ สมุดโน้ต ไม้บรรทัด นิตยสาร ไม้กวาด คีย์บอร์ด เสื้อเชิ้ต เตารีด โทรทัศน์ โปสเตอร์ รถเมล์
แม่กบ พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ บ ป ภ พ ฟ เช่น โทรศัพท์ รูปถ่าย ไมโครเวฟ ลิปสติก ธูปเทียน กรอบรูป ทัพพี ตะเกียบ ตลับยา แท็บเล็ต
สำหรับข้อมูลมาตรตัวสะกดที่นำมาเสนอในครั้งนี้ น่าจะทำให้หลาย ๆ คน เข้าใจในหลักการสะกดคำมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วหลักการใช้ภาษาไทยไม่ได้ยากอย่างที่คิด หากเราเข้าใจในพื้นฐานเบื้องต้นก็จะสามารถสร้างสรรค์คำใหม่ขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย รวมถึงสามารถอ่านออกเสียงคำและข้อความต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้นด้วยค่
http://www.youtube.com/watch?v=NEZAm-dLynE
สาระการเรียนรู้ที่2
เรื่องการคัดลายมือ
วิธีการสอนคัดลายมือ
วิธีการสอนการคัดลายมือ
หลักการ
ลายมือแสดงถึงบุคลิกลักษณะนิสัย จิตใจ ครูจึงควรฝึกให้นักเรียนสามารถเขียนตัวอักษรให้สวยงาม สะอาด เรียบร้อย และถูกต้อง เพื่อเป็นการฝึกจิตใจนักเรียนให้ละเอียดประณีต มีสมาธิ และอดทน (สิ่งที่ครูควรเน้นและใส่ใจในการฝึก คือ ช่องไฟ วรรคตอน ตัวอักษรที่เสมอกัน)
รูปแบบการคัดลายมือ
๑. แบบกระทรวงศึกษาธิการ
๒. แบบขุนสัมฤทธิ์วรรณการ
๓. แบบอาลักษณ์
๔. แบบพระยาผดุงวิทยา
๕. แบบคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ลายมือ มี ๓ แบบ
๑. ตัวบรรจงเต็มบรรทัด
๒. ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
๓. หวัดแกมบรรจง
ขั้นตอนการฝึก
๑. สอนและฝึกการจับปากกา ดินสอ ให้เอียงปลายปากกา ดินสอไปข้างหน้าวางอยู่ที่ปลายนิ้วกลาง โดยมีนิ้วหัวแม่มือ กับนิ้วชี้จับหนีบขนานไป ส่วนนิ้วอื่นๆงอเข้าหาฝ่ามือ โดยไม่ต้องเกร็ง (เด็กรุ่นใหม่ ส่วนมากชอบจับปากกา ดินสอแบบตั้งตรง ทำให้นิ้วเกร็ง โก่ง เมื่อยนิ้วเร็ว โดยเฉพาะเห็นได้ชัดที่นิ้วชี้)
๒. ฝึกให้วางสมุดตรงๆ แต่แขนเอียง
๓. ฝึกให้นั่งตัวตรงเขียน หรือหมอบเขียนก็ได้ แต่สายตาควรห่างจากสมุด ๑ ฟุต
๔. ฝึกเขียนหัวพยัญชนะก่อน
๕. ฝึกการเขียนวางสระ วรรณยุกต์ให้สัมพันธ์กับพยัญชนะ
๖. ฝึกการเขียนพยัญชนะและสระ ให้ตัวอักษรมีเส้นหนักเส้นเบา หรือหนาบางตามแบบ (ควรให้นักเรียนใช้ปากกาหรือดินสอ เบอร์ ๗ ขึ้นไป เพื่อสามารถเขียนตัวอักษรหนักเบาได้ ถ้าใช้ปากกาเบอร์ ๕ ตัวอักษรจะคมและเส้นเล็ก)
๗. ฝึกการเล่นตวัดเส้นตัวอักษร แบบอาลักษณ์ จะทำให้เด้กเห็นความสวยงามของตัวอักษร ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย (เหมือนการใช้พู่กันเขียนตัวอักษรของชาติจีน จนดูมีชีวิตชีวา อ่อนไหวได้ เข้มแข็งได้)
เทคนิคการสอนคัดลายมือ
๑. ใช้รูปแบบตัวอักษรของคอมพิวเตอร์มาเป็นตัวอย่างช่วยฝึกเขียน เช่น Angsana, Cordia ฯลฯ เป็นต้น
๒. ทำตารางให้เขียน/คัดลายมือในช่อง ทำทั้งเส้นแนวตั้งและแนวนอน ไม่ใช่ทำแต่เส้นแนวนอนเท่านั้น เพื่อให้นักเรียนเคยชินในการเขียนตัวหนังสือตรง ไม่เอียงซ้ายเอียงขวา
ตัวอย่างสมุดคัดลายมือ
วิธีตรวจ
1. ให้ดูว่าตัวอักษรที่นักเรียนเขียนตัวใด คัดได้สวยงาม ตัวตรง ลายเส้นมีหนักเบา อยู่ในกรอบช่องสี่เหลี่ยม ไม่ทับเส้น ครูผู้ตรวจก็ทำเครื่องหมายถูก หรือเครื่องหมายอะไรก้ได้ใต้ตัวอักษรนั้น
2. เสร็จแล้วให้ครูนับจำนวนเครื่องหมายที่ทำใต้่ตัวอักษรที่สวยงาม ว่ามีเท่าไหร่ ก็ให้ลงคะแนนตามนั้น โดยจะลงจำนวนที่ได้ และจากจำนวนทั้งหมด หรือ จะคิดเป็นร้อยละที่เขียนสวยจากจำนวนตัวอักษรทั้งหมดก้ได้
ชื่นชมกับผลงาน : ครูผู้ตรวจจะเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นของนักเรียนในครั้งต่อไปอย่างเห็นได้ชัด เพราะนักเรียนจะเกิดกำลังใจ หรือแรงจูงใจที่อยากเขียนได้จำนวนสวยขึ้น เมื่อเทียบกับตัวเองในครั้งที่ผ่านมา และกับเพื่อนๆ
ลองทำดูนะครับคุณครู แล้วจะเห็นความแตกต่างที่นึกไม่ถึง ที่ครูจะภูมิใจความสำเร็จได้ทันที
https://www.youtube.com/watch?v=VaoAMZpYpIM
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น