วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้





กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิชาสังคมศึกษา


สาระการเรียนรู้ที่1
เรื่องอาเซียน








พิธีลงนามในปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510
   


ความเป็นมาของอาเซียน

อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน       

            “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ

   

วัตถุประสงค์หลัก
                           
ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
      1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
           วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ
          และองค์การระหว่างประเทศ
                        ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน   ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง   


การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน


ครั้งที่
วันที่
ประเทศเจ้าภาพ
สถานที่จัดตั้งการประชุม
ครั้งที่ 1
23-24 กุมภาพันธ์ 2519
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 2
4-5 สิงหาคม 2520
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 3
14-15 ธันวาคม 2530
ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา
ครั้งที่ 4
27-29 มกราคม 2535
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 5
14-15 ธันวาคม 2538
ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 6
15-16 ธันวาคม 2541
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย
ครั้งที่ 7
5-6 พฤศจิกายน 2544
ประเทศบูรไนดารุสซาราม
บันดาร์เสรีเบกาวัน
ครั้งที่ 8
4-5 พฤศจิกายน 2545
ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ
ครั้งที่ 9
7-8 ตุลาคม 2546
ประเทศอินโดนีเซีย
บาหลี
ครั้งที่ 10
29-30 พฤศจิกายน 2547
ประเทศลาว
เวียงจันทน์
ครั้งที่ 11
12?14 ธันวาคม 2548
ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 12
11?14 มกราคม 25501
ประเทศฟิลิปปินส์
เซบู
ครั้งที่ 13
18?22 พฤศจิกายน 2550
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์
ครั้งที่ 14
27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
10-11 เมษายน 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
พัทยา
ครั้งที่ 15
23-25 ตุลาคม 2552
ประเทศไทย
ชะอำ, หัวหิน
ครั้งที่
8-9 เมษายน 2553
ประเทศเวียดนาม
ฮานอย


หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน
        
ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย

- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
- สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
          นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้               อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย มาโดยตลอด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใดๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้นๆ ก่อน
        

                          
โครงสร้างของอาเซียน

โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
            สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงาน
ตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก
            สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซียโดยมีหัวหน้าสำนักงานเรียกว่า “เลขาธิการอาเซียน” ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 35 ได้แต่งตั้งนาย Ong Keng Yong” ชาวสิงคโปร์ เป็นเลขาธิการอาเซียนคนใหม่แทนนาย Rodolfo C. Severino Jr. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546) และมีรองเลขาธิการอาเซียนจำนวน 2 คน (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโดยชาว มาเลเซียและเวียดนาม)
สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
           เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และติดตามผลของการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียนให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านอาเซียนดังกล่าว  


กฏบัตรอาเซียน
        
 เป็นร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพกฎบัตรอาเซียน เป็นร่างสนธิสัญญา ที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวาง กรอบทาง กฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียน ได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่าง กฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550













10 ประเทศอาเซียน ประวัติอาเซียน10ประเทศ



ประเทศอาเซียน


          ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

          แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน

          โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

 



 รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน 


บรูไน


1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 

          ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน"เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ

          


กัมพูชา

2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

          เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

           


อินโดนีเซีย


3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

          เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ

         


ลาว

4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)

          เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 

     


มาเลเซีย


5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

          เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ
       

ฟิลิปปินส์


6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

          เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ

         


สิงคโปร์


7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)

          เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)

          


ประเทศไทย


8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ
         


เวียดนาม

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

          เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 
       


ประเทศพม่า


10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

          มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ 


 




https://www.youtube.com/watch?v=GTYm638j7No










http://www.youtube.com/watch?v=hH-eQhEVFX4









สาระการเรียนรู้ที่2 

เรี่องการแสดงความเคารพ


การแสดงความเคารพแบ่งได้เป็นหัวข้อดังนี้


1. การประนมมือ
2. การไหว้
3. การกราบ
4. การคำนับ
5. การแสดงความเคารพพระมหากษัตริย์
6. การแสดงความเคารพโดยทั่วไป
7. การรับความเคารพ













การแสดงความเคารพมีหลาย ลักษณะ เช่น การประนมมือ การไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ การถวายบังคม เป็นต้น การที่จะ แสดงความเคารพในลักษณะใดนั้น ต้องพิจารณาผู้ที่ จะรับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะเช่นใด หรือในโอกาสใด แล้วจึงแสดงความเคารพให้ถูก ต้องและเหมาะสมการแสดงความเคารพแบ่งได้ดัง นี้คือ 

 1. การประนมมือ (อัญชลีประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบ ปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กาง ศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือ นี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟัง พระธรรมเทศนา และขณะพูดกับพระสงฆ์ซึ่งเป็น ที่เคารพนับถือ เป็นต้น 

2. ไหว้ (วันทนา ) การไหว้เป็นการแสดงความเคารพโดยการประนม มือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้ การไหว้แบบ ไทยแบ่งออกเป็น แบบ ตามระดับของบุคคล ดัง นี้
ระดับที่ การไหว้พระ ได้แก่ การ ไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียวัตถุและปูชนีย สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่ สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้ปลาย นิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก


ชาย ยืน แล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้น ไหว้

หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดย ถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด พร้อมยกมือ ขึ้นไหว้

ระดับที่ การไหว้ผู้มีพระ คุณและผู้มีอาวุโส ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ อย่างสูง โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่าง คิ้ว

ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับ การไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้

หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้

ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส รวมทั้ง ผู้ที่เสมอกันโดยประนมมือ
ยกขึ้นให้ปลาย นิ้วจรดปลายจมูก

ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับ ยกมือขึ้นไหว้

หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ โดยถอย เท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย 
พร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้

ในการไหว้ผู้เสมอกันทั้งชาย และหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกัน หรือใน เวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ทำพร้อมกันเป็น หมู่คณะ ควรจะนัดหมายให้ทำอย่างเดียวกัน
การไหว้ตามมารยาทไทยเช่นนี้ ปฏิบัติให้เรียบ ร้อยนุ่มนวลด้วยความสำรวมจึงจะดูงาม

3. การกราบ (อภิวาทเป็นการแสดงความเคารพด้วย วิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะ ลงจรดพื้นหรือจรดมือ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น เช่น กราบลงบน ตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ ถ้าหมอบแล้วน้อม ศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเรียกว่า หมอบกราบ การกราบมี ลักษณะ คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และการกราบผู้ใหญ่ 


3.1 การกราบแบญ จางคประดิษฐ์ ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การ ที่ให้อวัยวะทั้ง คือ เข่าทั้ง มือทั้ง และหน้าผากจรดพื้น การกราบจะมี จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ

ท่าเตรียมกราบ

ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่ง บนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้ง สองข้าง (ท่าเทพบุตร)

หญิง นั่งคุกเข่าปลาย เท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบน หน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพธิดา

จังหวะ ที่ 1 อัญชลียกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วชิดกันตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก


จังหวะที่ 2 (วันนายกมือขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้า ผาก


จังหวะที่ 3 (อภิวาททอดมือลง กราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือคว่ำห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรด พื้นระหว่างมือได้


ชาย ให้กางศอกทั้งสอง ข้างลง ต่อจากเข่าขนานไปกับพื้น หลังไม่ โก่ง

หญิง ให้ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็ก น้อย
ทำสามจังหวะให้ครบสามครั้ง แล้วยก มือขึ้นจบโดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง การกราบไม่ควรให้ช้าหรือ เร็วเกินไป 

3.2 การกราบผู้ใหญ่ ใช้ กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส รวมทั้งผู้มีพระ คุณได้แก่ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่เรา เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชาย และหญิงนั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลง พร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้าน ล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลงให้หน้า ผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบ ไม่ควรกระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นรับหน้าผาก

4. การคำนับ ให้ยืนตรง มือปล่อยไว้ข้างลำ ตัวค้อมศีรษะเล็กน้อย การคำนับนี้ส่วนมากเป็น การปฏิบัติของชาย แต่ให้ใช้ปฏิบัติได้ทั้งชาย และหญิงเมื่อแต่งเครื่องแบบและไม่ได้สวมหมวก


5. การแสดงความเคารพพระมหากษัตริย์

5.1 การ ถวายบังคม เป็นราชประเพณีถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ในงานพระราชพิธีสำคัญ
ก่อนที่จะถวาย บังคมต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมคือ นั่งคุกเข่าปลาย เท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้าเช่นเดียวกันทั้งชาย และหญิง มือทั้งสองวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสอง ข้าง ชายนั่งแยกเข่าได้เล็กน้อย หญิงนั่งเข่า ชิด


การถวายบังคมแบ่งออกเป็น จังหวะ ดัง นี้

จังหวะที่ 1 ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก

จังหวะ ที่ 2 ยกมือที่ประนมขึ้น ให้ปลายนิ้วหัว แม่มือจรดหน้าผากเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย

 จังหวะที่ 3 ลดมือกลับลงตามเดิมมาอยู่ ในจังหวะที่ 1

ทำให้ครบ ครั้ง โดย จบลงอย่างจังหวะที่ แล้วจึงลดมือลง วางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง
การถวายบังคม ดังกล่าวนี้ หญิงมีโอกาสใช้น้อย จะใช้ใน กรณีที่มีชายกับหญิงไปถวายบังคมร่วมกัน ถ้าหญิงล้วนให้ใช้วิธีหมอบกราบ

5.2 การหมอบกราบ ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลง มาถึงพระบรมวงศ์ ในโอกาสที่เข้า
เฝ้า โดย นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าแล้วจึงหมอบลงให้ ศอกทั้งสองข้างถึงพื้นคร่อมเข่าอยู่ด้านล่าง เพียงเข่าเดียว มือประสาน เมื่อจะกราบให้ประนมมือ ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ ประนม เมื่อกราบแล้วนั่งในท่าหมอบเฝ้าอีกครั้ง หนึ่ง แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบตามเดิม



3การถวายความเคารพแบบสากล ใช้กับ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์

ชาย ใช้วิธี การถวายคำนับ โดยค้อมตัวต่ำพอสมควร

หญิง ใช้วิธีการถวายความเคารพแบบย่อเข่า ( ถอนสายบัวมี แบบ คือ
แบบสากลนิยม ยืนตรง หันหน้าไปทางพระองค์ ท่าน วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังเล็ก น้อยตามถนัด พร้อมกับย่อตัวลง ลำตัวตรง หน้าตรง สายตาทอดลง ปล่อยแขนทั้งสองข้างแล้ว ยืนตรง

แบบพระราชนิยม ยืนตรง หัน หน้าไปทางพระองค์ท่าน วาดเท้าข้างใดข้าง หนึ่งไปข้างหลังเล็กน้อยตามถนัด พร้อมกับย่อ ตัวลง ขณะที่วาดเท้า ให้ยกมือทั้งสอง ข้างขึ้นวางประสานกันบนขาหน้าเหนือเข่า ค้อม ตัวเล็กน้อยทอดสายตาลง เสร็จแล้วยืนขึ้นใน ลักษณะเดิม


6. การแสดงความเคารพโดยทั่วไป

6.1 การแสดงความเคารพศพ จะต้องกราบพระพุทธ รูปเสียก่อนแล้วจึงไปทำความเคารพศพ ส่วน การจุดธูปหน้าศพนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของลูก หลานหรือศิษยานุศิษย์ หรือผู้เคารพนับถือ ที่ประสงค์จะบูชา
การเคารพศพพระ ถ้า เจ้าภาพจัดให้มีการจุดธูปให้จุด ดอก ชายกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หญิงหมอบกราบแบบเบญจางค ประดิษฐ์ ครั้ง

การเคารพศพคฤหัสถ์ ให้ทำ ความเคารพเช่นเดียวกับตอนที่ผู้ตายยังมี ชีวิตอยู่ ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอาวุโสมาก กราบ ครั้ง แต่ถ้าเป็นศพของผู้ที่มี อาวุโสใกล้เคียงกันกับผู้ที่ไปทำความเคารพ ให้ไหว้ในระดับที่ (ไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไปส่วนการเคารพศพเด็กนั้นเพียงยืนสงบ หรือนั่งสำรวมครู่หนึ่ง
ในกรณีที่ศพได้ รับพระราชทานเกียรติยศ ผู้เป็นประธานจุดธูป เทียนที่หน้าพระพุทธรูปและที่หน้าตู้พระ ธรรม แล้วไปจุดเครื่องทองน้อยที่หน้าศพเพื่อ แสดงว่าผู้วายชนม์บูชาพระธรรม แล้วจึงเคารพ ศพ
ส่วนผู้ไปในงาน กราบพระพุทธรูป ที่โต๊ะหมู่บูชาแล้วจึงเคารพศพด้วยการกราบ หรือคำนับ

6.2 การเคารพอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ อนุสาวรีย์ บุคคลสำคัญอาจเป็นรูปปั้น ภาพถ่าย ภาพวาด หรือ สัญลักษณ์อื่นก็ได้ ให้แสดงความเคารพด้วยการคำนับ หรือกราบ หรือไหว้แล้วแต่กรณี
ในโอกาสพิเศษ หรือเป็นพิธีการ เช่น เมื่อครบรอบวันเกิด หรือ วันสำคัญที่เกี่ยวข้องอันเป็นพิธีการให้ใช้ พุ่มดอกไม้ ถ้าครบรอบวันตายหรือแสดงความระลึก ถึงอันเป็นพิธีการให้วางพวงมาลา
ใน โอกาสอื่นๆ ที่ไม่เป็นพิธีการอาจแสดงความเคารพ โดยใช้หรือไม่ใช้เครื่องสักการะก็ได้


6.3 การแสดงความเคารพของผู้เป็นประธาน ณ ที่ บูชา เมื่อประธานในพิธีลุกจากที่นั่งเพื่อไป บูชาพระรัตนตรัย ผู้ร่วมพิธียืนขึ้น และเมื่อประธาน เริ่มจุดธูปเทียน ผู้ร่วมพิธีประนมมือเสมออก เมื่อประธานกราบผู้ร่วมพิธียกมือที่ประนมขึ้น ให้นิ้วชี้จรดหน้าผาก พร้อมทั้งก้มศีรษะเล็ก น้อย หากที่บูชามีธงชาติและพระบรมฉายา ลักษณ์ด้วย เมื่อประธานบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว ให้ยืน ขึ้นถอยหลัง ก้าว ยืนตรง ค้อมศีรษะคารวะครั้ง เดียว ซึ่งถือว่าได้เคารพต่อธงชาติและพระ บรมฉายา-ลักษณ์ไปพร้อมกันแล้ว ให้ประธานปฏิบัติ เช่นเดียวกันนี้ทั้งชายและหญิงทั้งที่อยู่ ในและนอกเครื่องแบบ



เมื่อจบพิธีแล้วประธาน ควรกราบพระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชาอีกครั้ง หนึ่ง ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมยืนขึ้นด้วยอาการสำรวม แล้วจึงไหว้ลาพระรัตนตรัยเป็นอันเสร็จพิธี แต่ ในกรณีที่ยังมีกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ประธาน ทักทายสังสรรค์กับผู้เข้าร่วมประชุม หรือดื่มน้ำ ชา และประธานอยู่ร่วมกิจกรรมด้วย เมื่อประธานจะ กลับ ไม่จำเป็นต้องกราบพระรัตนตรัย

6.4 การแสดงความเคารพของผู้ที่แต่งเครื่องแบบ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันนั้น 













 7. การรับความเคารพ เมื่อผู้น้อยมาทำความเคารพ ควรรับ ความเคารพด้วยการประนมมือหรือค้อมศีรษะรับตาม ควรแก่กรณี 



http://www.kanchanapisek.or.th/kp8/mthai/4_e.html










http://www.youtube.com/watch?v=Id042IBrsmU